วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

การศึกษา


การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้
การบรรยายเรื่อง การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา "การสร้างสรรค์ศึกษา" กรณีของประเทศไทยณ โรงแรม เลอ รอยัล เมอริเดียนวันพุธที่ 16 มกราคม 2545ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นแผนแม่บทด้านการศึกษาของประเทศ และในมาตรา 4 ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ดังนี้ การศึกษา หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้นั้นเกิดกับบุคคล และสังคม ถ้าเราถือว่าคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้น การเรียนรู้ ก็คือการเรียนรู้ของคนในสังคมนั่นเองการเรียนรู้ทำได้หลายวิธี มีได้หลายรูปแบบ การเรียนรู้คือการสร้างสรรค์ที่จรรโลงความก้าวหน้า คือครีเอทีฟ เพื่อความก้าวหน้า และการเรียนรู้คือการสร้างองค์ความรู้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ใหม่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้นต้องการการเรียนรู้ที่เน้นและให้ความสำคัญ กับการสร้างสรรค์มาก หมายความว่า การเรียนรู้นั้น เราสามารถสร้างองค์ความรู้ได้จากทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นจึงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างประเทศไทยกับสหราชอาณาจักรในครั้งนี้ ถ้าเรามองว่าการศึกษาคือการสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ จากรายงานจะพบว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร และเศรษฐกิจของโลกขึ้นอยู่กับผลงานสร้างสรรค์ หลายหมื่นล้านปอนด์ นั่นหมายความว่าราคาของความสร้างสรรค์มีมูลค่าสูงมาก ถ้านับรวมทั้งโลกจะสูงถึงล้าน ล้าน ล้านทีเดียว เพราะฉะนั้นโลกปัจจุบันจึงเป็นโลกของการเรียนรู้โดยการสร้างสรรค์ ที่เรามาพูดกันในวันนี้เมื่อได้ความหมายของการศึกษา ว่าหมายถึงการศึกษาเชิงสร้างสรรค์แล้ว ระบบสามารเทียบโอนการศึกษากันได้ นี่คือความยืดหยุ่น เป็นการลดความแข็งของระบบการศึกษา เพื่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ความคิดริเริ่ม" และ "สร้างสรรค์" นอกจากนี้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยังมีสิ่งที่โดดเด่นมากคือในมาตรา 22 ที่เปลี่ยนความเชื่อและหลักการเกี่ยวกับผู้เรียนค่อนข้างมาก โดยเชื่อว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ ซึ่งหมายความว่าเราเชื่อในพลังแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียน เชื่อในพลังแห่งการสร้างสรรค์ของแต่ละคน ซึ่งนับว่าเป็นความเชื่อที่ยิ่งใหญ่มาก ประการต่อมาเราเชื่อว่าผู้เรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพของตัวเองได้ การศึกษาเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน ถ้าเรามองว่าการศึกษาเชิงสร้างสรรค์เป็นรูปแบบและวิธีการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ในมาตรา 4 และมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เราสามารถบูรณาการเข้ากับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ได้อย่างไร วันนี้จะมีตัวอย่างการบูรณาการในวิชาวิทยาศาสตร์ และศิลปะมาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเนื้อหาวิชาไว้อย่างสมบูรณ์ และชัดเจน และในมาตรา 24(5) กำหนดวิธีการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนาพลังแห่งการสร้างสรรค์ให้เป็นระบบ เพราะการวิจัยเป็นการทำงานโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ นอกจากนี้ในมาตรา 25 กล่าวถึง แหล่งเรียนรู้ ว่ามิได้จำกัดตายตัวอยู่แต่เพียงในห้องเรียน สถานที่ต่างๆ เช่น ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ ก็ถือเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญเช่นกัน แต่เดิมเราเคยมีปัญหาเกี่ยวกับข้อกำหนดของหลักสูตร แต่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้หลักสูตรมี 2 ระบบ คือ หลักสูตรกลาง หรือหลักสูตรชาติ และหลักสูตรของโรงเรียนที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพของผู้เรียน และชุมชน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้การปฏิรูปการศึกษา เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ ทำอย่างไรจึงมีการเรียนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างพลังศักยภาพของสังคมของคนไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ในฐานะของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของชาติ จึงสนใจและทำการศึกษาเรื่อง "การศึกษาเชิงสร้างสรรค์" นี้ เพื่อให้นโยบายด้านการศึกษาของชาติ สามารถพัฒนาเป็นแผนโดยการบูรณาการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์นี้ให้เข้ากับรายวิชาต่างๆ ได้อย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ที่มา:ดร.รุ่ง แก้วแดง:http://library.uru.ac.th/webdb/images/Create_Edu.htm